วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555
ทฤษฎีนวัตกรรม ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า นวัตกรรม มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน นวัตกรรมมีรากศัพท์มาจากคำว่า innovate ในภาษา ลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา จะพบว่าในปัจจุบันได้เกิดแนวคิด ทฤษฎีนวัตกรรมในแนวเครือข่ายทางสังคม โดยมีการเสนอแนวทางในการส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ไปสู่สังคมนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย โดยการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร ทำให้เกิดการแพร่กระจายความรู้ในหลากหลายสาขาอย่างรวดเร็ว ส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หลักการของนวัตกรรมการศึกษา คือ 1. สิ่งใดก็ตามที่เป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์หรือยอมรับเราเรียกว่านวัตกรรมการศึกษา 2. สิ่งที่อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาเราเรียนว่านวัตกรรม 3. สิ่งที่เรานั้นยังไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายเราเรียกว่านวัตกรรม 4. สิ่งใดก็ตามที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ ในวงการใดวงการหนึ่ง และมีการพิสูจน์ว่าจะมีประสิทธ์ภาพและประสิทธิผลจริงนับว่าเป็นนวัตกรรม กระบวนการของนวัตกรรม ตามความคิดของผู้เขียน กระบวนการของนวัตกรรมมีดังนี้คือ 6.1 ขั้นความคิด คือ การนึก คิด แนวทาง หรือกระบวนการแห่งนวัตกรรมนั้นๆขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการบางอย่างของมนุษย์ทั้งในทิศทางบวก และทิศทางลบ 6.2 ขั้นเสาะแสวงหาโอกาส คือ การใช้โอกาสในวาระต่างๆ นำเอานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ หรือแนวคิดนั้นๆไปทดลองใช้ 6.3 ขั้นพัฒนา คือ การนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปปรับใช้ เปลี่ยนแปลง ให้เกิดภาวการณ์ก้าวข้ามผ่านสิ่งเก่า 6.4 ขั้นแพร่กระจาย คือ นวัตกรรมนั้นๆได้รับการนำไปใช้ในวงกว้าง อย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นเทคโนโลยีในอนาคต แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และศาสตร์ทางการศึกษา มาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาทางการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน โดยแต่ละส่วนของกระบวนการมีความเป็นบูรณาการไม่ได้แยกเป็นอิสระจากกัน ทำให้นิยามของเทคโนโลยีทางการศึกษามีจุดเริ่มต้นจาก สอง แนวความคิด ดังนี้ แนวคิดที่ 1 เน้นสื่อ (สื่อ+อุปกรณ์) เป็นแนวคิดที่นำผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ที่มีทั้งวัสดุสิ้นเปลือง และอุปกรณ์ที่คงทนถาวร แนวคิดนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการฟังด้วยหู และชมด้วยตา สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเน้นสื่อถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของครู นักเรียนซึ่งถือได้ว ่ าเป็นตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้น อาทิเช่น เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องรับโทรทัศน์ ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ และรายการอื่นๆ ที่อยู่ในรูปของอุปกรณ์ และวัสดุ แนวคิดที่ 2 เน้นวิธีการ (สื่อ+อุปกรณ์ + วิธีการ) เป็นแนวคิดที่ประยุกต์หลักการทางจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษย์วิทยา และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ เน้นวิธีการจัดระบบ ที่ใช้ในการออกแบบ การวางแผน ดำเนินการตามแผน และประเมินกระบวนการทั้งหมดของการเรียนการสอน ภายใต้วัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ด้วยการใช้ผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ การสื่อสาร เป็นพื้นฐานการดำเนินงาน ซึ่งถือได้ว ่ าเป็นตามแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ คือ เทคโนโลยีการศึกษา ตามแนวทางแรกนั้นเป็นเทคโนโลยีเครื่องมือ และแนวคิดอย่างหลังนั้นเป็นเทคโนโลยีระบบ ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล ให้เป็นสารสนเทศ และนำไปสู่ความรู้ ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน ความหมายของข้อมูล ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว ความหมายของสารสนเทศ สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้ สาเหตุที่ทำให้เกิดสารสนเทศ 1. พัฒนาการของความรู้ สิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ 2. พัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 3. การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร 4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์ 5. ความจำเป็นในการใช้สารสนเทศ ลักษณะของสารสนเทศ 1. ถูกต้องแม่นยำ (Accurate) 2. สมบูรณ์ครบถ้วน (Complete) 3. เข้าใจง่าย (Simple) 4. ทันต่อเวลา (Timely) 5. เชื่อถือได้ (Reliable) 6. คุ้มราคา (Economical) 7. ตรวจสอบได้ (Verifiable) 8. ยืดหยุ่น (Flexible) 9. สอดคล้องกับความต้องการ (Relevant) 10. สะดวกในการเข้าถึง (Accessible) 11. ปลอดภัย (secure)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น